28 Jan สิทธิเรียกร้องในตัวเงินและทรัพย์สินของการฟ้องหย่า
1.ค่าเลี้ยงดูบุตร
บิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรและให้การศึกษาจนบรรลุนิติภาวะ(20ปี) ทั้งสองฝ่ายมีหน้าที่ร่วมกัน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจึงสามารถเรียกค่าอุปการะจากอีกฝ่ายได้กึ่งหนึ่งจากค่าใช้จ่ายทั้งหมดจนกว่าบุตรจะมีอายุครบ 20ปีบริบูรณ์ โดยสามารถเรียกค่าอุปการะได้ย้อนหลังในกรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่ต้องฟ้องให้บิดารับรองบุตรไปพร้อมกัน
2.ค่าเลี้ยงชีพ
ถ้าเหตุแห่งการหย่าเกิดจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียวและการหย่านั้นทำให้อีกฝ่ายยากจนลง เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากงาน ฝ่ายนั้นมีสิทธิขอให้อีกฝ่ายจ่ายค่าเลี้ยงชีพได้ แต่ต้องฟ้องมาในคดีหย่านั้น และสิทธิการได้รับค่าเลี้ยงชีพนี้จะหมดไปเมื่อได้สมรสใหม่
3.ค่าทดแทน
เรียกได้กรณี 1.อุปการะเลี้ยงดู ยกย่องผู้อื่นฉันสามีหรือภริยา เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ 2.เรียกจากผู้ล่วงเกินภริยาในทำนองชู้สาวหรือเรียกจากผู้แสดงตนอย่างเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาว
แต่หากสามีหรือภริยาให้ความยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจจะไม่สามารถเรียกค่าทดแทนได้
4.แบ่งสินสมรส
ทรัพย์สินที่ได้มาภายหลังจดทะเบียนสมรสถือเป็นสินสมรส(มีเหตุยกเว้นบางประการ) สามารถแบ่งได้ฝ่ายละกึ่งหนึ่ง กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสแต่อยู่กินฉันสามีภริยา ทรัพย์สินที่ได้มาถือเป็นเจ้าของร่วมกันมีส่วนเท่ากัน
ปภังกร สถิรรัตน (ทนายอาร์ต)
ยินดีให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย
#คดีครอบครัว #ฟ้องหย่า #ฟ้องชู้
Sorry, the comment form is closed at this time.