คดีลหุโทษ ประมวลกฎหมายอาญา

คดีลหุโทษ ประมวลกฎหมายอาญา

คดีลหุโทษ

ประมวลกฎหมายอาญา

“มาตรา 102 ความผิดลหุโทษ คือ ความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 104 การกระทำความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายนี้ แม้กระทำโดยไม่มีเจตนาก็เป็นความผิด เว้นแต่ตามบทบัญญัติความผิดนั้นจะมีความบัญญัติให้เห็นเป็นอย่างอื่น
มาตรา 105 ผู้ใดพยายามกระทำความผิดลหุโทษ ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ”

คดีลหุโทษคือคดีที่มีบัญญัติความผิด ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยถือเอาผลของการกระทำเป็นสำคัญ แม้จะไม่มีเจตนากระทำก็ต้องรับผิด แต่หากพยายามกระทำความผิดลหุโทษ ก็ไม่ต้องรับผิด

ซึ่งคดีลหุโทษไม่สามารถยอมความได้ แต่เป็นคดีที่มีความผิดเล็กน้อย เจ้าพนักงานตำรวจจึงสามารถทำการเปรียบเทียบปรับ (ปรับเงินเพื่อให้คดีจบได้เลย) เว้นแต่ผู้เสียหายไม่มีความประสงค์ให้ทำการเปรียบเทียบปรับครับ

ตัวอย่างความผิดลหุโทษที่สำคัญและพบได้บ่อย

  1. มาตรา 367 ไม่ยอมบอกหรือแกล้งบอกชื่อหรือที่อยู่อันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน
  2. มาตรา 368 ขัดคำสั่งโดยชอบของเจ้าพนักงาน
  3. มาตรา 374 เห็นผู้ภยันตรายแห่งชีวิตแล้วไม่เข้าช่วยเหลือ
  4. มาตรา 371 พาอาวุธเข้าไปในที่สาธารณะ โดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร
  5. มาตรา 376 ยิงปืนโดยใช่เหตุในที่ชุมชน
  6. มาตรา 378 เสพสุราหรือของเมาอย่างอื่น จนเป็นเหตุให้ตนเมา ประพฤติวุ่นวายหรือครองสติไม่ได้ขณะอยู่ในถนนสาธารณะ หรือสาธารณสถาน
  7. มาตรา 384 แกล้งบอกเล่าความเท็จให้เลื่องลือจนเป็นเหตุให้ประชาชนตื่นตกใจ
  8. มาตรา 388 ทำอนาจาร เปลือยหรือมีเพศสัมพันธ์ในที่สาธารณะ
  9. มาตรา 379 ชักหรือแสดงอาวุธในการวิวาท
  10. มาตรา 390 ใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
  11. มาตรา 391 ใช้กําลังทำร้ายโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
  12. มาตรา 392 ทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัว หรือความตกใจ โดยการขู่เข็ญ
  13. มาตรา 393 ดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา
  14. มาตรา 397 กระทำด้วยประการใดๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ

 

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำในที่สาธารณสถานหรือต่อหน้าธารกำนัลหรือเป็นการกระทำอันมีลักษณะส่อไปในทางที่จะล่วงเกินทางเพศ

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสองเป็นการกระทำโดยอาศัยเหตุที่ผู้กระทำมีอำนาจเหนือผู้ถูกกระทำอันเนื่องจากความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา นายจ้าง หรือผู้มีอำนาจเหนือประการอื่น

ปภังกร สถิรรัตน (ทนายอาร์ต)
ยินดีให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย
#บริการร่างหนังสือสัญญา #จัดทำสัญญา

 

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.